การเรียนรู้ สู่ประเทศเพื่อนบ้าน

ประวัติศาสตร์เวียดนาม

ยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์

      จากหลักฐานคือกลองมโหระทึกสำริด และชุมชนโบราณที่ดงเซิน เขตเมืองแทงหวา ทางใต้ของ ปากแม่น้ำแดง สันนิษฐานว่าบรรพบุรุษของชาวเวียดนามโบราณผสมผสานระหว่างชนเผ่ามองโกลอยด์เหนือ จากจีนและใต้ ซึ่งเป็นชาวทะเล ดำรงชีพด้วยการปลูกข้าวแบบนาดำและจับปลา และอยู่กันเป็นเผ่า บันทึกประวัติศาสตร์ยุคหลังของเวียดนามเรียกยุคนี้ว่าอาณาจักรวันลาง มีผู้นำปกครองสืบต่อกันหลายร้อยปีเรียกว่า กษัตริย์หุ่ง แต่ถือเป็นยุคก่อนประวัติศาสตร์ 

ยุคสมัยประวัติศาสตร์

      สมัยประวัติศาสตร์ เวียดนามเริ่มเข้าสู่ยุคประวัติศาสตร์หลังชนเผ่าถุก จากตอนใต้ของจีนเข้ารุกรานและยึดครองดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำแดง จากนั้นไม่นานจักรพรรดิจิ๋นซ๊ซึ่งเริ่มรวมดินแดนจีนสร้างจักรวรรดิหนึ่งเดียว ได้ยกทัพลงมาและทำลายอาณาจักรของพวกถุกได้ ก่อนผนวกดินแดนลุ่มแม่น้ำแดงทั้งหมด ให้ขึ้นตรงต่อศูนย์กลางการปกครองหนานไห่ ที่เมืองพานอวี่หรือกว่างโจวในมณฑลกวางตุ้งปัจจุบัน หลังสิ้นสุดราชวงศ์ฉิน ข้าหลวงหนานไห่คือจ้าวถัว ประกาศตั้งหนานไห่เป็นอาณาจักรอิสระ ชื่อว่า หนานเยว่ หรือนามเหวียต ในสำเนียงเวียดนามซึ่งเป็นที่มาของชื่อเวียดนามในปัจจุบัน ก่อนกองทัพฮั่นเข้ายึดอาณาจักรนามเหวียด ได้ในปี พ.ศ. 585 และผนวกเป็นส่วนหนึ่งของจีน ใช้ชื่อว่าเจียวจื้อ ขยายอาณาเขตลงใต้ถึงบริเวณเมืองดานังในปัจจุบัน และส่งข้าหลวงปกครองระดับสูงมาประจำ เป็นช่วงเวลาที่ชาวจีนนำวัฒนธรรมจีนทางด้านต่างๆไปเผยแพร่ที่ดินแดนแห่งนี้พร้อมเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรจากชาวพื้นเมืองหรือชาวเวียดนามจนนำไปสู่ การต่อต้านอย่างรุนแรงหลายครั้ง

แตกแยกเหนือใต้

     ขุนศึกตระกูลจิ่งตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการ ขุนศึกตระกูลจิ่งตั้งตนเป็น "เจ้า" สืบตำแหน่งผู้สำเร็จราชการในตระกูลของตนเอง ขุนศึกตระกูลเหงวียนจึงประกาศไม่ยอมรับการปกครองของตระกูลจิ่งจนเกิดสงครามครั้งใหม่ต่อมาอีกหลายสิบปี เวียดนามแบ่งแยกเป็นสองส่วน ส่วนเหนืออยู่ในการปกครองของราชวงศ์เลและเจ้าตระกูลจิ่ง มีศูนย์กลางที่ทังลอง ส่วนใต้ตระกูลเหงวียนปกครอง มีศุนย์กลางที่เมืองฝูซวนหรือเว้ ในปัจจุบัน

ยุคเตยชิน

      พ.ศ. 2316 เกิดกบฎนำโดยชาวนาสามพี่น้องที่หมู่บ้านเตยเซินขึ้นในเขตเมืองบิ่งดิ่ง เขตปกครองของตระกูลเหงวียน และสามารถยึดเมืองฝูซวนได้ เชื้อสายตระกูลเหงวียนหลบหนีลงใต้ออกจากเวียดนามไปจนถึงกรุงเทพ ฯ ก่อนกลับมารวบรวมกำลังเอาชนะพวกเตยเซินได้

ยุคอาณานิคม

      ฝรั่งเศสแสวงหาผลประโยชน์จากการปกครองเวียดนามทางด้านเศรษฐกิจชาวฝรั่งเศสเริ่มอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเวียดนาม ขณะเดียวกันก็ส่งเสริมการศึกษาและวัฒนธรรมฝรั่งเศสให้แพร่หลายมากในเวียดนาม ชาวเวียดนามส่วนหนึ่งได้รับการศึกษาแบบใหม่และเริ่มต้องการอิสระในการทำงาน และมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ   นำไปสู่การก่อตัวของกลุ่มชาตินิยมต่าง ๆ        ที่เข้มแข็งที่สุดคือพรรคคอมมิวนิสต์อินโดจีนที่ตั้งขึ้นโดยโฮจิมินห์ ในปี 2473 และต่อมาปรับเปลี่ยนเป็น กลุ่มเวียดมินห์ ได้นำชาวนาก่อการต่อต้านฝรั่งเศสในชนบท

ยุคเอกราช

       พ.ศ. 2488 โฮจิมินห์รับมอบอำนาจจากจักรพรรดิบ๋าวได่และรับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรก แต่หลังจากนั้นฝรั่งเศส กลับเข้ามาขับไล่รัฐบาลของโฮจิมินห์และไม่ยอมรับเอกราชของเวียดนาม นำไปสู่สงครามจนในที่สุดฝรั่งเศสพ่ายแพ้แก่กองกำลังเวียดมินห์ที่ค่ายเดียน เบียนฟู ในปี 2497 และมีการทำสนธิสัญญาเจนีวา ยอมรับเอกราชของเวียดนาม
       แต่สหรัฐอเมริกาและชาวเวียดนามในภาคใต้บางส่วนไม่ต้องการรวมตัวกับรัฐบาลของ โฮจิมินห์   ต่อมาได้ก่อตั้งดินแดนเวียดนามภาคใต้เป็นอีกประเทศหนึ่ง คือ สาธารณรัฐเวียดนาม หรือเวียดนามใต้ มีเมืองหลวงคือ ไซ่ง่อน ใช้เส้นละติจูดที่ 17 องศาเหนือแบ่งแยกกับเวียดนามส่วนเหนือใต้การปกครองของโฮจิมินห์ (เวียดนามเหนือ) 

ยุคสงครามเวียดนาม

       เวียดนามเหนือไม่ยอมรับสถานภาพของเวียดนามใต้ ขณะที่สหรัฐอเมริกาได้ให้การช่วยเหลือทางทหารแก่เวียดนามใต้อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการส่งทหารมาประจำในเวียดนามใต้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
       เวียดนามเหนือประกาศทำสงครามเพื่อขับไล่และ "ปลดปล่อย" เวียดนามใต้จากสหรัฐอเมริกาและรวมเข้าเป็นประเทศเดียวกัน พร้อมให้การสนับสนุนกลุ่มชาวเวียดนามใต้ที่ต่อต้านสหรัฐอเมริกาในการทำสงคราม
       แม้สหรัฐอเมริกาได้ทุ่มเทแสนยานุภาพอย่างเต็มที่แต่ก็ไม่อาจทำให่สงครามยุติ ลงได้ หลังการรุกโจมตีครั้งใหญ่ของเวียดนามเหนือและเวียดกงในปี 2511 ที่เมืองเว้ และเมืองหลักอื่น ๆ ในเวียดนามใต้ สหรัฐอเมริกาเริ่มเตรียมการถอนกำลังจากเวียดนามใต้และให้เวียดนามใต้ทำ สงครามโดยลำพัง สหรัฐอเมริกาถอนทหารจากเวียดนามใต้อย่างเป็นทางการในปี 2516
       กองกำลังเวียดนามเหนือและเวียดกงจึงสามารถรุกเข้ายึดไซ่ง่อนและเวียดนามใต้ ได้ทั้งหมดในปี 2518 การรวมเวียดนามทั้งสองส่วนเข้าด้วยกันเกิดขึ้นในวันที่ 2 กรกฎาคม 2519 และเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม นับแต่นั้น


การเมืองการปกครอง  

      เดิมประเทศเวียดนามจะปกครองแบบสังคมนิยม แต่ก็ได้เปลี่ยนเป็นการปกครองแบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์เนื่องจากเกิดสงครามเวียดนามขึ้น ซึ่งมีลักษณะการปกครองดังนี้
     1.   ปัจจัยการผลิตทุกชนิดเป็นของรัฐบาลกลาง ทั้งอุตสาหกรรม เกษตรกรรม การค้าและการบริการ อยู่ในความควบคุมของรัฐบาล
     2.   เอกชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน ซึ่งเป็นของรัฐ
     3.   ประชาชนถูกจำกัดเสรีภาพในการบริโภค
     4.   ผู้บริหารเป็นผู้วางแผนทั้งหมดในการการผลิตโดยอาจใช้ระบบกลไกราคาหรือระบบปันส่วน


      ผลจากการทำสงครามในช่วงที่ผ่านมา ทั้งกับฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกา รวมทั้งการส่งทหารเข้าไปแทรกแซงกัมพูชา เป็นการสูญเสียแรงงานในการพัฒนาประเทศไปเป็นจำนวนมหาศาล เป็นสาเหตุหนึ่งที่ไม่สามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้ และส่งผลคุณภาพชีวิตและประชากร ทำให้ประชาชนเวียดนามเป็นอีกประเทศที่ยากจนประเทศหนึ่งในโลก







      ในปี 2519 รัฐบาลมีแผนงานแก้ไขความยากจนและความอดอยากของประชาชน โดยการเวียนคืนที่ดินของคนร่ำรวยมาเป็นของรัฐ ขยายพื้นที่เพาะปลูกออกไปยังชนบทห่างไกล ส่งประชาชนที่แออัดในเมืองใหญ่กว่า 10 ล้านคนออกไปยังส่วนภูมิภาค ให้ทำงานด้านเกษตรกรรมเป็นพื้นฐาน เพื่อผลิตอาหารหลักของประเทศ ผลจากการกระจายประชากรในครั้งนั้นกลับเป็นผลดีและได้ส่งผลต่อมาในอีก 20 ปีต่อมา ปัจจุบันเราพบว่าเวียดนามเป็นคู่แข่งขันและผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ของโลก ที่สามารถส่งออกสินค้าการเกษตร และข้าวออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก


       การเมืองการปกครองแบบสังคมนิยมนั้นทำให้ระบบเศรษฐกิจของเวียดนามชะงักงัน ขาดการลงทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากประเทศคอมมิวนิสต์ด้วยกันก็ล้วนมาฐานะยากจนและต้องรอรับความช่วยเหลือจากสหภาพโซเวียตเท่านั้น อีกทั้งยังไม่มีความร่วมมือใดๆ       ในทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศกลุ่มคอมมิวนิสต์ด้วยกัน การขาดความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจนี้จึงส่งผลให้สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนเวียดนามแร้งแค้น ขาดแคลนและขาดคุณภาพชีวิต


       การปกครองในระบบนี้ยังมีช่องโหว่ในผู้มีอำนาจปกครอง นำอำนาจในการปกครองไปในทางมิชอบ ฉ้อราษฏร์บังหลวง โดยผู้มีอำนาจอยู่อย่างสุขสบาย มีฐานะดี ใช้ช่องทางหาประโยชน์หาสู่ตนและพวกพ้อง ต่างจากประชาชนต้องกระจายกันอยู่ในชนบท ขาดการสุขาภิบาล การบริการด้านสาธารณสุข และไม่มีสวัสดิการสังคมใดๆ เลย เพราะอยู่ในระหว่างการฟื้นฟูประเทศ


       นด้านความสัมพันธ์ทางการทูต   เวียดนามถูกตัดความสัมพันธ์ทางการทูตจาก   ประเทศเสรีประชาธิปไตย ทำให้ขาดความร่วมมือในด้านต่างๆ เช่น การถ่ายทอดเทคโนโลยี การแลกเปลี่ยนทางสังคมและวัฒนธรรม การส่งออกแรงงาน และการพัฒนาฝีมือแรงงาน เวียดนามจึงล้าหลัง ไม่อาจแข่งขันกับประเทศอื่นๆ ได้


       หลังจากที่ล้มเหลวในการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมเต็มรูปแบบ ในปี 2522 รัฐบาลเวียดนามได้พยายามแก้ไขปัญหาการขาดแคลนผลผลิตทางการเกษตร โดยได้พัฒนาอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการบริโภคพื้นฐานและปัจจัยการดำรงชีวิต โดยได้ลดความสำคัญของระบบกรรมสิทธิ์รวมลง ได้ปฏิรูประบบเศรษฐกิจเข้าสู่เศรษฐกิจเสรี มีการทำสัญญาระหว่างรัฐกับสหกรณ์คือให้สหกรณ์สามารถค้าขายผลิตผลกับตลาดเสรีได้ เพื่อให้เศรษฐกิจมีความยืดหยุ่น และยังมีแผนรณรงค์เพื่อลดขั้นตอนระบบราชการ การเพิ่มพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศและการส่งออกสินค้าการเกษตร อาหารทะเลและหัตถกรรม


       การล่มสลายของสหภาพโซเวียตในปี 2534 เวียดนามต้องตกอยู่ในภาวะต้องพึ่งพาตนเอง ประกอบกับการแข่งขันในโลกเสรีมีมากขึ้น การแข่งขันในทางลัทธิการเมืองการปกครองเปลี่ยนไปเป็นการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจ ประกอบกับมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคต่างๆ เช่นอาเซียน เวียดนามได้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงนี้และพยายามปฏิรูปการเมืองการปกครองให้เข้าสู่ระบบเสรีมากขึ้นโดยเฉพาะด้านการเศรษฐกิจ โดยการเปิดประเทศ พัฒนาความสัมพันธ์ทางการทูต ทางด้านเศรษฐกิจกับต่างประเทศเพื่อรองรับการลงทุนและอุตสาหกรรมต่างๆ รวมทั้งขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนในที่สุด
         
       จากการเปลี่ยนแปลง และปฎิรูปการปกครองของเวียดนามเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเสรี ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง พลิกโฉมหน้าของประเทศเวียดนาม การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับประเทศต่างๆ และสหรัฐอเมริกา เริ่มทำให้มีเงินทุนหลั่งไหลเข้าสู่เวียดนามมากขึ้น อุตสาหกรรมต่างๆถูกพัฒนาขึ้นจำนวนมาก เมืองท่าชายทะเลถูกพัฒนาและนำกลับมาใช้ การเปิดประเทศทำให้แนวโน้มชีวิตประชาชนมีคุณภาพเพิ่มขึ้น ประชากรมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวสูงขึ้น

       เวียดนามเริ่มเป็นศูนย์กลางในการผลิตสินค้าเกษตรกรรม สินค้าหัตถกรรมและแรงงานที่เริ่มโดดเด่น เพราะจากลักษณะนิสัย และพื้นฐานการปกครองแบบคอมมิวนิสต์ทำให้ประชาชนค่อนข้างมีวินัย และการปกครองง่าย ส่งผลให้ผลผลิตในภาคอุตสาหกรรมและภาคการเกษตรมีปริมาณเติบโตอย่างรวดเร็ว

       และการเข้าร่วมเป็นสมาชิกชาติอาเซียน เป็นอีกก้าวกระโดดหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงประเทศเวียดนามเข้าสู่ยุคใหม่ จากกรอบข้อตกลง วิสัยทัศน์ร่วมของผู้นำอาเซียน ได้กำหนดความร่วมมือต่างๆ การให้ความช่วยเหลือสนับสนุนต่อกับในชาติสมาชิก ส่งผลให้เศรษฐกิจประเทศเวียดนามเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ประเทศเวียดนามได้มีแผนการปฏิรูปการเมืองการปกครองให้สอดคล้องกับทิศทางของเศรษฐกิจโลก ทั้งยังผลักดันประเทศให้มีส่วนร่วมกับเวทีโลก โดยเข้าร่วมการประชุม ลงนามกรอบข้อตกลงทางการค้าต่างๆ กับชาติต่างๆ นอกจากนี้ยังได้พัฒนาความสัมพันธ์ร่วมกันกับประเทศในกลุ่มอาเซียนและแปซิฟิก เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและคุณภาพชีวิตของประชาชน อันเป็นความปรารถนาสูงสุดของประชาชนในประเทศ โดยมิได้ปิดกั้นตนเองอยู่ภายใต้นโยบายหรือลัทธิการเมืองการปกครองอีกต่อไป

สถานที่ท่องเที่ยว
    
      ในเวียดนามมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมายหลายแห่งเลยทีเดียว และในแต่ละแห่งก็จะมีประวัติต่างๆมากมาย บ้างก็เก่าแก่ บ้างก็ทันสมัย มีทั้ง หาด ทะเลสวยงาม อ่าวๆต่างๆ ตลาด และสถานที่สำคัญมากมายตัวอย่างเช่น

ทะเลสาบคืนดาบ

      ทะเลสาบแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณใจกลางของเมืองเก่าฮานอย สำหรับนักเดินทางที่มาเยือนฮานอย ซึ่งไม่ได้ มากับบริษัททัวร์ส่วนใหญ่นิยมหาที่พักในบริเวณเมืองเก่า ที่เปรียบได้กับถนนข้าวสารของเมืองไทย นอกจากนั้น ี้ยังมีร้านจำหน่ายอาหารทั้งประเภทพื้นเมือง และเมนูตะวันตกมากมาย รวมถึงจำหน่ายของที่ระลึกก็มีให้เลือกเป็นของฝาก สำหรับทะเลสาบฮว่านเกี๋ยม มีตำนานเล่าขานสืบต่อกันมาถึงว่าครั้งอดีตพระเจ้าเลไทโต ได้นำดาบวิเศษ ซึ่งนำมาต่อสู้กับพวกหมิงจน สามารถปลดปล่อยประเทศให้อิสระแล้ว พระองค์ทรงลงเรือไปกลางทะเลสาบเพื่อคืนดาบ วิเศษให้กับเต่าศักดิ์สิทธิ์ และกล่าวกันว่าเต่า ได้ขึ้นมาฉกดาบไปจากหัตถ์ของพระองค์ แล้วหายไปในทะเลสาบ    อันเป็นเหตุให้ทะเลสาบแห่งนี้มีชื่อว่า "ทะเลสาบคืนดาบ" หากมองเข้าไปกลางทะเลสาบจะเห็นเจดีย์โบราณโผล่ ขึ้นพ้นน้ำ สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 18 มีชื่อเรียกว่า ทาพรัว(Thao Rua)ซึ่งหมายถึงหอคอยเต่าและในปัจจุบัน ยังมีหลายคนบอกว่าเห็นเต่าขนาดใหญ่อยู่ในทะเลสาบแห่งนี้ โดยเฉพาะในช่วงของเวลาเปลี่ยนฤดูกาล

วิหารวรรณกรรม

       หรือวันเหมียว สร้างในปี 1076 วิหารถูกเชื่อมต่อกับกว๊อกตื่อยาม ซึ่งเป็นโรงเรียนของพวกขุนนางและเป็น มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ ในสมัยราชวงศ์ตรันได้เปลี่ยนชื่อเป็น กว็อกฮ็อกเหวียนหรือวิทยาลัยแห่งชาติในปี1235 เมื่อสอบได้ในระดับท้องถิ่นแล้วนักเรียนที่ปรารถนาจะเลื่อนชั้นขึ้นเป็นขุน
นางระดับสูง ก็จะมาเล่าเรียนวรรณคดี ปรัชญา ภาษาจีนโบราณ และประวัติศาสตร์ที่นี่
อ่าวฮาลอง 
       หรือ กุ้ยหลินเวียดนาม ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเวียดนาม ชาวเวียดนามเรียกอ่าว ฮาลองว่า     วินห์ ฮาลอง” (VINH HA LONG)ในภาษาเวียดนามคำว่าฮาลองแปลว่า มังกรร่อนลง อ่าวฮาลองเป็นสิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแห่งหนึ่งในโลกและด้วยความมหัศจรรย์ทาง ธรรมชาตินี้เอง   องค์การยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนให้อ่าวฮาลองเบย์เป็นมรดกโลกทางธรรมชาติ ในปีค.ศ.1994 อ่าวฮาลองแห่งนี้กินเนื้อที่ 4,000 ตารางกิโลเมตร (1,500 ตารางไมล์) มีเกาะหินปูนน้อยใหญ่ กระจัดกระจาย มากกว่า 1,000 เกาะ ด้วยพลังคลื่นลมมหาศาล จากธรรมชาติกัดเซาะภูเขา หินปูนเหล่านี้ต่อเนื่องนานมาเป็นเวลานาน นับพันปี ภูเขาหินปูนรูปทรงประหลาดโผล่ขึ้นจากทะเลนับพันๆลูกเลย ทีเดียว อ่าวฮาลองแห่งนี้เคยโด่งดังในหมู่นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกจากภาพยนตร์ผรั่งเศส เรื่อง อินโดจีน” (INDOCHINE) ซึ่งมีนักแสดงสาวชาวฝรั่งเศส คือ แคทเธอรีน เดอเนิฟ เป็นดารานำแสดง สถานที่ท่องเที่ยว ที่เวียดนามกลาง
ตลาดฮอยอัน
       เป็นที่ที่เหมาะเป็นจุดเริ่มออกเดินเที่ยว มีเจดีย์กับบ้านประจำตระกูลสัก 20 หลังตั้งอยู่ใจกลางเมืองเก่า วัดกับบ้านเหล่านี้ส่วนใหญ่ สร้างโดยชุมชนชาวจีนอพยพ ในช่วงเวลา 40 ปี จากปี 1845 ถึง 1885
ภูมิศาสตร์ของเวียดนาม
       ส่วนใหญ่ประเทศแต่ละประเทศจะมีลักษณะพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไปตามพื้นผิวของโลกที่ตั้งอยู่ในแต่ละประเทศนั้นๆ ส่วนประเทศที่ผมสนใจนั้นก็คือ ประเทศเวียดนาม ผมจึงได้ไปศึกษาภูมิศาสตร์เกี่ยวกับประเทศเวียดนาม ซึ่งได้ข้อมูลมาดังนี้
ลักษณะภูมิอากาส
      

       เวียดนามเป็นประเทศที่มีลักษณะเป็นแนวยาว และ มีภูมิประเทศเป็นภูเขาสูงกั้นระหว่างที่ราบลุ่มแม่น้ำที่อุดมสมบูรณ์ทางตอนเหนือและใต้ แต่มีภูเขาที่มีป่าหนาทึบแค่ 20% เวียดนามเป็นหนึ่งในสิบหกประเทศทั่วโลกที่มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงสุด

ลักษณะภูมิประเทศ

       มีที่ราบลุ่มแม่น้ำขนาดใหญ่ 2 ตอน คือ ตอนเหนือ เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำแดง และตอนใต้เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง * มีที่ราบสูงตอนเหนือของประเทศ และยังเป็นภูมิภาคที่มี เขาฟาน ซี ปัง (Phan Xi Păng) ซึ่งเป็นภูเขาที่สูง 3,143 เมตร ตั้งอยู่ในจังหวัดเล่าไค เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในอินโดจีน


       เป็นแบบมรสุมเขตร้อน ชายฝั่งทะเลด้านตะวันออกเปิดโล่งรับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านทะเลจีนใต้ ทำให้มีโอกาสรับลมมรสุมและพายุหมุนเขตร้อน จึงมีฝนตกชุกในฤดูหนาว สามารถปลูกข้าวได้ปีละ 2 ครั้ง (ฝนตกตลอดปี ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ)
       เป็นประเทศที่มีความชื้นประมาณ 84 % ตลอดปี มีปริมาณฝน จาก 120 ถึง 300 เซนติเมตร และมีอุณหภูมิเฉลี่ยตั้งแต่ 5 °C  ถึง 37 °C